ส่วนใหญ่เมื่อถึงเวลาที่ต้องผลิตภาพยนตร์หรือทำโฆษณาสักชิ้น มักจะคิดถึงขั้นตอน Pre-Production และ Production เป็นหลัก แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึงความสำคัญของ Post-Production ว่ามันมีอิทธิพลต่อความรู้สึกคนดูขนาดไหน
และแน่นอนว่าขั้นตอนสำคัญที่ช่วยไขข้อสงสัยของหลาย ๆ คนตอนดูภาพยนตร์ว่า ทำไมสี และ แสงของภาพมันถึงได้ดูคุมโทนเข้ากันอย่างไม่น่าเชื่อนี้ก็อยู่ในขั้นตอน Post Production นี่แหละ!
บางคนอาจจะคิดว่าการที่สีของภาพสวยเป็นเพราะฝีมือผู้กำกับ หรือตากล้อง แต่จริง ๆ แล้วสีต่าง ๆ ที่เราเห็นนั้นเกิดจากฝีมือของ Colorist ผู้อยู่เบื้องหลังการเกลี่ยหรือเกรดสี ที่สามารถกำหนด Art Direction หรือ Mood and Tone ของงานชิ้นนั้นได้เลย
แล้วการเกลี่ยสีคืออะไร? หลายคนอาจเคยเห็นคำว่า “Color Grading” หรือ “Color Correction” กันมาบ้าง บางคนก็เข้าใจว่ามันก็มีความหมายเหมือนกันนั่นแหละ แต่จริง ๆ แล้วมันมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ระหว่างคำสองคำนี้อยู่นะ
โดยรวมแล้วคำว่า “Color Grading” และ “Color Correction” จะมีหน้าที่ใกล้เคียงกันนั่นคือการแก้ไขปัญหาสี แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ Color Grading จะทำหน้าที่เกลี่ยสีของภาพในแต่ละช็อตหรือแก้ไขสีของ Color Correction ให้มีความต่อเนื่องและไปในทิศทางเดียวกัน การแก้ไขสีของภาพในที่นี้มักจะรวมไปถึง White Balance, Exposure, Highlight และ Shadow ของภาพด้วย แต่ Color Correction คือการทำให้สีดูสมจริง และใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
อิทธิพลของสีต่อความรู้สึกของคนดู
จะเห็นได้ว่าสีของภาพมีอิทธิพลต่อความรู้สึกคนดูมาก เพราะสีเป็นสิ่งแรกที่เราเห็น นอกจากนี้สีแต่ละสีสามารถสื่อให้เห็นถึงอารมณ์ของนักแสดง และเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นการทำความเข้าใจการใช้สีจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างภาพประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะตัวกำหนดว่าผู้ชมจะตีความภาพยนตร์ หรือโฆษณาของเราไว้ว่าอย่างไร
เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงจิตวิทยาของสีมากขึ้น Dope Eyes มีความหมายของแต่ละสีมาฝากกัน
สีแดง
เริ่มกันกับสีแรก ‘สีแดง’ สีโทนร้อนที่เรามักจะเห็นได้บ่อยในภาพยนตร์แนวแอคชั่น หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์รักโรแมนติก เพราะสีแดงแสดงให้เห็นถึงความรัก ความลุ่มหลง ความรุนแรง ความโกรธ และพลัง ยกตัวอย่างภาพยนตร์ที่มีฉากสีแดงที่โดดเด่นคือเรื่อง American Beauty (1999) ผลงานจากผู้กำกับดังอย่าง Sam Mendes ที่สามารถคว้ารางวัลออสการ์ไปกว่า 5 รางวัล โดยฉากที่สะกดสายตาคนดูไว้ก็คือฉากที่ตัวละครหลักของเรื่อง (แองเจล่า) นอนเปลือยกายบนกองกุหลาบ ที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่คนดูสามารถสังเกตได้ตลอดทั้งเรื่อง โดยสีจากดอกกุหลาบที่ปรากฏนั้นสามารถตีความออกมาได้หลากหลายความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความปราถนาของ แองเจล่า เอง ความลุ่มหลงในตัณหาของ เลสเตอร์ (พ่อของแองเจล่า) หรือจะเป็นความโกรธแค้นของ แคโรลีน ผู้เป็นแม่ นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ๆ เรื่องที่มีการใช้สีแดงเพื่อสื่อถึงพลัง อย่างเช่นโปสเตอร์ของ "Avengers: Infinity War" เองก็มีการใช้สีแดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน
สีชมพู
สีชมพู เป็นสีที่แสดงให้เห็นถึง ความไร้เดียงสา ความอ่อนหวาน มีเสน่ห์ ละเอียดอ่อน และ Femininity ซึ่งเราก็สามารถเห็นได้จากฉากหนึ่งจากเรื่อง Mean Girl (2004) ที่ตัวละครหลักทั้ง 4 ใส่ชุดสีชมพูซึ่งแสดงถึงความเป็นผู้หญิงอย่างชัดเจน หรือจะเป็นฉากจากหนัง Lady Bird (2017) ปูนปลาสเตอร์สีชมพูบนแขนของ Christine McPherson (Saoirse Ronan) แสดงถึงบุคลิกที่รอบคอบเกินกว่าวัยของตัวเอกวัย 17 ปี
สีส้ม
ส่วนใหญ่เมื่อเราเห็นสีส้ม เรามักจะเห็นสีส้มอยู่ในภาพยนตร์ที่มีความอบอุ่น หรือแสดงถึงความสุขแต่กลับกันสีส้มเองก็อาจสื่อได้ถึงความสิ้นหวังได้ด้วย ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์ Blade Runner 2049 ในฉากที่เป็น Mad Max: Fury Road สีส้มแสดงให้เห็นถึงความแห้งแล้ง และความสิ้นหวังของตัวละครที่ต้องอยู่ท่ามกลางเมืองที่ร้าง ไร้ผู้คน
สีเหลือง
หลายคนเมื่อนึกถึงสีเหลืองมักจะนึกถึงความสดใจ ความสุข และจินตนาการ แต่หากนำสีเหลืองมาใช้ในภาพยนตร์มันก็อาจจะแสดงให้เห็นถึงความวิกลจริต อิจฉา หรือความคลั่ง ซึ่งเราจะเห็นได้จากภาพยนตร์เรื่อง Elizabeth (1998) ที่ Cate Blanchett สวมชุดสีเหลืองขึ้นครองบัลลังก์แสดงให้เห็นถึงความบ้าคลั่งในอำนาจของตัวละคร
สีเขียว
สีเขียวสีแห่งธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันสีเขียวก็สื่อถึงความชั่วร้าย ลางสังหรณ์ และอันตรายได้เช่นกัน โดยเรามักจะเห็นสีเขียวในฉากที่มีตัวละครร้ายปรากฏ อย่างเช่นฉากที่ Maleficent แสดงพลังเพลิงสีเขียวของเธอ จากการโดนหักหลัง
สีม่วง
เมื่อนึกถึงความแฟนตาซี สีม่วงมักจะเป็นสีหนึ่งที่เรานึกถึง เพราะหลาย ๆ เรื่องที่มีเรื่องราวเหนือธรรมชาติก็มักจะหยิบยกสีม่วงเข้ามาใช้เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชม อย่างเช่นฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง Avatar 2 ที่จะมีกำหนดฉายในปี 2022 นี้
สีน้ำเงิน
สีโทนเย็นที่แสดงออกถึงความหนาวเหน็บ ความโดดเดียว หดหู่ และเศร้าหมอง เป็นสีที่นิยมใช้อย่างมากในภาพยนตร์ที่มีฉากสูญเสีย หรือโศกเศร้า อย่าง Only God Forgives (2013) ที่นักแสดงหนุ่ม Ryan Gosling แสดงสีหน้าให้เห็นถึงความโดดเดี่ยวซึ่งแยกตัวออกจากความเป็นจริง และตัวละครอื่น ๆ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าสีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ชมมาก และหากใครอยากได้คำปรึกษาด้าน Production ก็อย่าลืมติดต่อ Dope Eyes ได้นะ :P
Comments